Monday, January 27, 2014

พาราเบนคืออะไร What is PARABEN?? ผสมเครื่องสำอางค์ประเภทไหน ?? เกี่ยวอะไรกับมะเร็งเต้านม ??

พาราเบน (Paraben)

พาราเบนคืออะไรและทำไมเราจึงควรหลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีพาราเบนผสมอยู่
ปัจจุบันนี้มีการพูดถึงสารพาราเบนมากขึ้น จนบางครั้งเราเห็นการใช้คำว่า ‘ Paraben Free’ บนผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางค์ เลยทีเดียว แต่อย่างไรก็ตาม เราก็ยังไม่ชัดเจนว่าสารพาราเบนคืออะไรและทำไมจึงควรระมัดระวังในการใช้
สารพาราเบนเป็นสารสังเคราะห์ขึ้นทางเคมี เพื่อใช้ในการรักษาสภาพของผลิตภัณฑ์ไม่ให้ขึ้นรา หรือถูกแบคทีเรียเข้าไป  จะทำปฏิกิริยาจนผลิตภัณฑ์เกิดการแปรสภาพ หรือจะเรียกให้เข้าได้ง่ายก็คือสารกันบูดนะแหละ สารพาราเบนอาจถูกพบได้ในธรรมชาติ เช่น เมทิลพาราเบนที่พบในบลูเบอรรี แต่ส่วน มากในอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องสำอางค์หรืออุตสาหกรรมการผลิตยาจะไม่ใช้สารพาราเบนจากธรรมชาติ เนื่องจากสาร พาราเบนสังเคราะห์มีราคาถูกกว่ามากและสามารถควบคุมการออกฤทธิ์ได้แม่นยำตรงตามความต้องการได้มากกว่า
เชื่อไหมว่าเราสัมผัสกับสารพาราเบนตลอดเวลาในชีวิตประจำวันผ่านการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ใช้กับร่างกาย เพราะสารพาราเบนเป็นสารที่ เป็นส่วนประกอบพื้นฐานในการรักษาสภาพของผลิตภัณฑ์ให้อยู่ได้นานและไม่กลายสภาพ ผลิตภัณฑ์ที่ว่าได้แก่ ยาสระผม, เจล โกนหนวด, มอยซ์เจอร์ไรซ์เซอร์สำหรับร่างกายและใบหน้า, ผลิตภัณฑ์ล้างทำความสะอาดใบหน้า, ยาสีฟัน ฯลฯ ในบางครั้ง เรายังพบว่ามีการเติมสารพาราเบนลงในอาหารเพื่อรักษาสภาพอาหารอีกด้วย
หากท่านมีเวลา เราอยากจะชวนท่านอ่านฉลากผลิตภัณฑ์ที่ท่านใช้อยู่ ท่านจะตกใจว่าสารพาราเบนมีอยู่ในผลิตภัณฑ์ตั้งแต่ราคาเพียงไม่กี่บาทจนไปถึงเครื่องสำอางค์ราคาแพงจากต่าง ประเทศเลยทีเดียว และที่น่าตกใจคือมีการใส่สารพาราเบนมากกว่า 2 ชนิดในแต่ละผลิตภัณฑ์ สารพาราเบนที่ปรากฏบนสลากเป็นประจำคือ เมทิลพาราเบน, เอทิลพาราเบน, พรอพิลพาราเบน และบูทิลพาราเบน
สารพาราเบนถูกใช้อย่างแพร่หลายเช่นนี้ เนื่องจากองค์การอาหารและยาของประเทศอเมริกาและประเทศในกลุ่มยุโรป ซึ่งได้รับการยอมรับว่ามีมาตรการในการควบคุมการใช้สารเคมีที่ สูง เพื่อไม่ให้ผู้บริโภคได้รับอันตรายจากสารเคมีที่ผสมอยู่ในผลิตภัณฑ์ต่างๆนั้น ยังอนุญาตให้ใช้สารพาราเบนในปริมาณไม่เกินที่กำหนด เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ต่างๆคงสภาพได้นานเท่าที่ระบบ การตลาดจะสามารถขับเคลื่อนสินค้าไปสู่มือผู้บริโภคได้ แต่อย่างไรก็ตามได้มีนักวิจัยได้ทำการศึกษาถึงผลข้างเคียงของสารพาราเบนที่มีต่อมนุษย์ ซึ่งผลที่ออกมาทำให้ผู้บริโภคอย่างเรา ๆ รู้สึกตระหนกและกังวลใจไม่ใช่น้อยเลยทีเดียว
Dr. S. Oishi นักวิจัยจากสถาบันพิษวิทยา สำนักงานวิจัยเพื่อสาธารณะแห่งมหานครโตเกียว ได้รายงานว่าพบความผิดปก ติของทารกเพศชายที่ได้รับสารบูทิลพาราเบนจากการใช้ผลิตภัณฑ์ของมารดา โดยทารกเกิดความผิดปกติในระบบสืบพันธุ์ และ การหลั่งฮอร์โมนเทสทอสเทอโรน
Dr.Philipa Dabre นักชีวโมเลกุลชาวอังกฤษ ได้รายงานว่า พบสารพาราเบนในเนื้อร้ายจากผู้ที่เป็นมะเร็งเต้านม ซึ่งสาร พาราเบนที่พบน่าจะมาจากผลิตภัณฑ์ที่ผู้ป่วยใช้สัมผัสกับผิวหนังบริเวณรักแร้ หรือครีมทาผิว หรือสเปรย์ฉีดร่างกาย และนอกจาก นั้น Dr. Dabre ยังพบว่ากว่า 60% ของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมจะพบเนื้อร้ายตรงบริเวณหน้าอกส่วนบนด้านหน้าใกล้กับบริเวณรักแร้
นอกจากนั้นยังมีการวิจัยจากมหาวิทยาลัยนอร์ธเวสเทิร์น รัฐอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา พบว่ามะเร็งเต้านมขั้นต้นที่พบ มีส่วน สัมพันธ์กับความถี่ของการใช้ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกายและเครื่องสำอางค์ที่มีสารพาราเบนของผู้ป่วย
สารพาราเบนนั้นเป็นสารสังเคราะห์ที่มีลักษณะคล้ายกับฮอร์โมนเอสโทรเจน ซึ่งฮอร์โมนนี้จะเข้าไปมีส่วนสำคัญในการทำ งานร่วมกับต่อมไร้ท่อในร่างกาย โดยเฉพาะต่อมไฮโปทาลามัสที่ควบคุมการเจริญเติบโตและการทำงานของร่างกาย ต่อมไท รอยด์ที่ควบคุมระบบเมตาบอลิซึม และรังไข่ซึ่งควบคุมระบบสืบพันธุ์ ดังนั้นการได้รับสารพาราเบนเป็นระยะเวลาต่อเนื่องจึงมีผล ต่อการทำงานของอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ร่างกายสามารถรับสารพาราเบนจากการดูดซึมผ่านผิวหนังซึ่งมีรูพรุน โดยการดูดซึมสารพาราเบนผ่านผิวหนังมีอัตราสูง กว่าการรับสารพาราเบนผ่านการรับประทานถึง 10 เท่า ดังนั้นจึงเป็นเรื่องน่าวิตกว่าร่างกายของเรามีสารพาราเบนตกค้างอยู่มาก เท่าใด
ถึงแม้ว่าจะยังไม่มีการชี้ชัดว่าสารพาราเบนปริมาณเท่าใดจึงปลอดภัยต่อมนุษย์ หากเลือกได้เราควรที่จะพิถีพิถันในการ เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ปราศจากสารพาราเบนเสียดีกว่า เพราะในปัจจุบันมีผู้ผลิตจำนวนหนึ่งที่รับผิดชอบต่อผู้บริโภคเห็นว่าเราไม่ ควรที่จะต้องรับสารพาราเบนเข้าไปในร่างกายเพิ่ม เพื่อลดอัตราเสี่ยงในการเกิดมะเร็งหรือเกิดความผิดปรกติในระบบต่างๆของร่าง กาย โดยผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากบริษัทเหล่านี้จะปราศจากสารพาราเบน และพยายามใช้สารกันเสียที่เกิดจากสารธรรมชาติเป็นตัว ป้องกันการแปรสภาพของผลิตภัณฑ์ เช่นการใช้น้ำมันบริสุทธิ์ที่มีความเข้มข้นสูง, การใช้ Grape Seed Extract หรือการใช้เกลือ เข้ามาช่วย อย่างไรก็ตาม ในบางผลิตภัณฑ์ก็จะไม่สามารถใช้สารธรรมชาติเหล่านี้ได้ ดังนั้นผู้บริโภคอย่างเราก็จะต้องยอมรับว่า ผลิตภัณฑ์จากผู้ผลิตที่รับผิดชอบเหล่านี้อาจจะเสียง่ายและต้องรีบใช้ให้หมดก่อนวันหมดอายุที่ระบุไว้ ซึ่งก็ยังดีกว่าการรับสาร พาราเบนซึ่งก่อให้เกิดผลร้ายที่เราไม่รู้อีกมากมาย เอกสารอ้างอิง

www.thegoodhuman.com
www.terressentials.com/truthaboutparabens.html
http://en.wikipedia.org/wiki/Paraben
http://www.sirichiva.com/

No comments:

Post a Comment