Tuesday, January 13, 2015

เมื่อไรกันแน่ ถึงจะเป็นมะเร็งเต้านม

เมื่อไร! สงสัยว่าเป็นมะเร็งเต้านม

รศ.นพ.อดุลย์  รัตนวิจิตราศิลป์
ศัลยแพทย์ด้านศีรษะ คอ เต้านม
Faclty of Medicine Siriraj Hospital
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

              ขึ้นชื่อว่ามะเร็งพอได้ยินก็กลัวกันทั้งนั้น  ยิ่งสตรีที่ตรวจพบว่าเป็นมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มแรก เมื่อคุณหมอบอกว่าแม้ตัดออกหรือทำการรักษาจนหาย ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีโอกาสกลับมาเป็นมะเร็งอีก มาดูกันว่าเราจะสังเกตและดูแลตัวเองอย่างไรดี 

ก้อนที่เต้านม ไม่เจ็บสิน่ากลัว
              บ่อยครั้งสาเหตุที่คนไข้มาหาหมอ มาจากก้อนที่เต้านมเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมา คือ อาการเจ็บเต้านม ผู้หญิงส่วนใหญ่เมื่อมีอาการเจ็บเต้านม มักจะเริ่มสังเกตและคลำที่เต้านม ส่วนหนึ่งจะพบก้อนร่วมด้วย อีกส่วนหนึ่งไม่พบก้อนหรือไม่แน่ใจ แต่มักจะลงเอยด้วยการพบหมอหรือผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้มั่นใจว่าไม่เป็นมะเร็งเต้านม ซึ่งมักจะมาพบหมอค่อนข้างเร็ว ผิดกับผู้ที่มีก้อนที่เต้านม คลำได้ แต่ไม่รู้สึกเจ็บ มักจะปล่อยเอาไว้เพราะคิดว่าไม่เป็นไร

ซีสมักจะเจ็บ ส่วนมะเร็งมักจะไม่เจ็บ
               ในบรรดาก้อนที่เต้านมนั้น มีโรคกลุ่มหลัก ๆ อยู่ 3 กลุ่ม คือ 1) ซีสเต้านม 2) เนื้องอกเต้านม (ไม่ร้าย) 3) มะเร็งเต้านม ซีสที่เต้านมจะมีการเปลี่ยนแปลงตามรอบเดือน โตก่อนรอบเดือนมาและเล็กลงหลังรอบเดือนมาแล้ว ส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยที่มีซีส มักจะเจ็บที่ก้อน ซึ่งผิดกับกลุ่มเนื้องอกหรือมะเร็ง ซึ่งมักจะไม่ค่อยเจ็บ พบว่าร้อยละ 90 ของคนที่เป็นมะเร็งเต้านม ระยะเริ่มแรกจะมีแต่ก้อน ไม่มีอาการเจ็บ ผู้หญิงหลายๆ คนมีความเข้าใจผิดคิดว่าก้อนที่ไม่เจ็บคงไม่เป็นไรและปล่อยทิ้งไว้จนกระทั่งก้อนมะเร็งใหญ่โตขึ้นมากแล้วจึงรู้สึกเจ็บได้

มะเร็งเต้านมพบได้บ่อยแค่ไหน
                แนวโน้มคนไทยป่วยเป็นโรคมะเร็งสูงขึ้นทุกปี ซึ่งกว่าร้อยละ70 ของโรคมะเร็ง เกิดจากสภาพแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นสภาพอากาศที่เปลี่ยนไป มีมลภาวะเพิ่มมากขึ้น สารพิษที่ปนเปื้อนมากับอาหาร รวมถึงความเครียดภายในจิตใจ จากอุบัติการณ์ในการเกิดโรคมะเร็ง โดยเฉลี่ยแล้วทุก ๆ 3 ชั่วโมง จะพบว่าผู้หญิงไทยป่วยเป็นโรคมะเร็งเต้านม 2 คน และพบว่ามีอัตราการเสียชีวิตถึงร้อยละ 30 ของการเกิดโรคมะเร็งเต้านม ทั้งนี้อัตราการพบมะเร็งเต้านมในแต่ละประเทศไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับเชื้อชาติและวิถีการดำเนินชีวิต เช่น ในประเทศตะวันตก พบมะเร็งเต้านมได้มากกว่า 100 คน ในสตรีวัยเจริญพันธุ์ 1 แสนคน ส่วนในเอเชียพบน้อยกว่า ข้อมูลจากสำนักระบาดวิทยาของไทยที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารระบาดวิทยาระดับโลก พบว่าหญิงไทยมีอัตราการพบมะเร็งเพียง 40 คน ในสตรีวัยเจริญพันธุ์ 1แสนคน ซึ่งถ้าเทียบเป็นร้อยละก็เพียง 0.04  ซึ่งนับว่าน้อยมาก

ใครบ้างที่เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง
                 อายุ ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดต่อการเป็นมะเร็งเต้านม พบว่ายิ่งอายุมากขึ้นโดยเฉพาะสตรีวัย 60 ปีขึ้นไป ยิ่งมีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมสูงถึงร้อยละ 50 – 60  รองลงมาคือการเคยผ่าตัดก้อนเนื้อที่เต้านม และพบว่าเป็นซีสเต้านมชนิดที่เริ่มผิดปกติ (atypia) และการพบว่ามีญาติสนิท(แม่ พี่สาว น้องสาว หรือลูก) เป็นมะเร็งเต้านมมากกว่า 2 คน รวมถึงปัจจัยอื่น ๆ ที่มีความเสี่ยงเพียงเล็กน้อย ได้แก่ การเริ่มมีประจำเดือนมาครั้งแรกตั้งแต่อายุยังน้อย การหมดประจำเดือน (วัยทอง) ช้า การไม่มีบุตร  หรือมีบุตรยาก และการที่เคยใช้ยากลุ่มฮอร์โมนในวัยหมดประจำเดือนติดต่อกันเป็นเวลานานมากกว่า 10 ปี เป็นต้น

สงสัยว่าเป็นมะเร็งเมื่อไร
                   ดังได้กล่าวมาแล้ว มะเร็งเต้านมส่วนใหญ่จะไม่มีอาการเจ็บหรือปวด (มีเพียงร้อยละ10 ของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มาพบหมอด้วยอาการปวดเต้านม) แต่จะคลำพบก้อนที่เต้านม สังเกตถ้าก้อนที่เป็นมะเร็งเต้านมมักจะแข็งและขรุขระ แต่อาจเป็นก้อนเรียบๆ ได้  อาการอื่น ๆ อาจพบผิวหนังที่เต้านมบุ๋มลงไปคล้ายลักยิ้ม หรือมีรูปร่างของเต้านมผิดไปจากเดิม หรืออาจมีแผลที่หัวนมและรอบหัวนม หรือมีน้ำเหลืองหรือน้ำเลือดไหลออกจากหัวนม บางรายคลำพบก้อนบริเวณรักแร้ และนานๆ ครั้งจะพบมะเร็งเต้านมที่มีอาการบวมแดงคล้ายการอักเสบที่เต้านม นอกจากอาการผิดปกติที่เต้านมแล้ว การตรวจเต้านมด้วยเครื่องแมมโมแกรม(mammogram) และ อัลตราซาวด์ (ultrasound) ยังสามารถตรวจพบมะเร็งเต้านมขนาดเล็กตั้งแต่ยังไม่มีอาการได้ โดยอาจพบก้อน หรือจุดหินปูนในเนื้อเต้านมได้ 

ตรวจเลือดและยีน (gene)  บอกได้ไหมว่าเป็นมะเร็งเต้านม
                   การตรวจเลือดเพื่อหามะเร็งเต้านมนั้น  มีความแม่นยำค่อนข้างต่ำ เนื่องจากผู้ที่เป็นมะเร็งเต้านมจะพบผลการตรวจเลือดเกี่ยวกับมะเร็ง เช่น CA153, CEA ผิดปกติน้อยกว่าร้อยละ 20 ขณะเดียวกันผู้ที่มีผลเลือดปกติ ก็อาจเป็นมะเร็งเต้านมอยู่แล้ว
                  ส่วนการตรวจยีน เช่น gene BRCA1, BRCA2 ซึ่งจะมีความผิดปกติในมะเร็งเต้านมที่เป็นกันทั้งครอบครัว หากตรวจพบก็ไม่ได้หมายความว่า กำลังเป็นมะเร็งอยู่ เพียงแต่ทำให้รู้ว่าโอกาสจะพบมะเร็งเต้านมในคน ๆ นั้นมีมากกว่าคนทั่วไป และยีนดังกล่าวก็พบได้เพียงร้อยละ 5 - 10 ของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมทั้งหมด ดังนั้นหากตรวจยีนดังกล่าวแล้วปกติก็ยังมีสิทธิ์เป็นมะเร็งเต้านมอยู่ไม่น้อย

                  รู้อย่างนี้แล้วกันไว้ดีกว่า ด้วยการตรวจเต้านมด้วยตนเองเป็นประจำ พบแพทย์ตรวจเมื่อมีอาการสงสัย อย่าปล่อยไว้เพราะไม่เจ็บ และตรวจแมมโมแกรมประจำปีตั้งแต่อายุ 40 ปีขึ้นไป จะได้ไม่ต้องเสียใจภายหลัง

ที่มา : http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=771

Tuesday, January 28, 2014

ความรู้เรื่องซีสต์ (ก้อนเนื้อที่เต้านม) อาการ และการักษา

30กำลังแจ๋วกับความรู้เรื่องซีสต์ (ก้อนเนื้อที่เต้านม)




ถุง น้ำที่เต้านม หรือที่เรียกว่า ซีสต์ Breast cysts คือถุงที่มีน้ำอยู่ภายในที่อยู่ที่หน้าอก (แปลแบบตรงตัวกันไปเลย) แต่ละคนอาจจะพบซีสต์ได้ บางคนเจอหลายซีสต์ก็พบได้บ่อย ส่วนใหญ่แล้วจะมีรูปร่างกลม และขอบเรียบ ถ้าเป็นซีสต์ที่ใหญ่พอสมควรอาจจะคลำได้ และรู้สึกเหมือนองุ่นนุ่มๆ หรือลูกโป่งที่มีน้ำอยู่ภายใน



ส่วนใหญ่จะพบในผู้หญิงอายุ 30 ขึ้นไป และจะยุบลงได้หลังจากเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน ยกเว้นว่ารับประทานยาฮอร์โมนทดแทน
ซีสต์ที่หน้าอก ไม่จำเป็นต้องรักษายกเว้นว่ามีขนาดใหญ่หรือมีอาการเจ็บ ซึ่งส่วนใหญ่จะให้การรักษาโดยการเจาะดูดน้ำออกมาเท่านั้น

อาการของถุงน้ำที่หน้าอกได้แก่
  • คลำได้ก้อนที่หน้าอก เป็นก้อนที่ค่อนข้างเรียบกลม และกลิ้งไปมาได้
  • มีอาการเจ็บบริเวณที่มีก้อน
  • ก้อนที่คลำได้จะมีขนาดใหญ่ขึ้นและตึงขึ้นในช่วงก่อนมีประจำเดือน และจะเล็กลงหลังหมดประจำเดือน
สิ่งสำคัญที่ต้องรู้เพื่อจะได้ไม่ต้องกังวลคือ การมีซีสต์แบบธรรมดา Simple cyst ไม่ได้เป็นปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงมะเร็งเต้านม 
หากคลำหน้าอกตรวจด้วยตนเองแล้วพบว่ามีก้อนใหม่เกิดขึ้น หรือก้อนที่เคยพบอยู่เดิมมีขนาดใหญ่ขึ้นควรพบแพทย์เพื่อตรวจให้แน่ใจ

สาเหตุ

เต้า นมแต่ละข้างจะมีเนื้อเยื่อของต่อมน้ำนม อยู่ 15-20 กลุ่ม และมีการแตกออกเป็นท่อน้ำนมในแต่ละกลุ่มเพื่อให้ในการสร้างน้ำนม ท่อน้ำนมเหล่านี้ก็จะเป็นที่สะสมของน้ำนมที่สร้างขึ้นมา

ถุง น้ำที่เต้านม เกิดจากต่อมและเนื้อเยื่อรอบ ๆ มีการโตขึ้นผิดปกติ และไปอุดกั้นท่อน้ำนม ทำให้มีการขยายออกของท่าน้ำนมและมีของเหลวเข้าไปสะสมอยู่
  • Microcysts เป็นซีสต์ที่มีขนาดเล็กมากจนไม่สามารถคลำได้ แต่จะพบได้เมื่อทำการตรวจ แมมโมแกรมหรืออัลตราซาวน์
  • Macrocysts เป็นซีสต์ที่มีขนาดใหญ่ที่สามารถคลำได้ ส่วนใหญ่ที่สามารถคลำได้ชัดเจนคือ 2.5 เซนติเมตร ถ้ามีขนาดใหญ่มากจะเบียดเนื้อเยื่อรอบ ๆ ทำให้มีอาการเจ็บได้

สาเหตุของซีสต์ที่เต้านมไม่ชัดเจน แต่อาจจะเกิดจากการมีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายมากเกินไป
การตรวจและวินิจฉัยซีสต์ที่เต้านมมักจะทำหลังจากที่ตัวคุณหรือแพทย์ตรวจร่างกายพบว่ามีก้อนที่เต้านม โดยจะทำการตรวจต่อไปนี้

  • การ ตรวจคลำเต้านมโดยแพทย์ แต่การตรวจนี้จะยังไม่สามารถบอกได้ว่าก้อนที่ตรวจพบเป็นก้อนเนื้อหรือถุงน้ำ กันแน่ จึงควรจะต้องทำการตรวจด้วยวิธีอื่น ๆ เพื่อยืนยัน

  • การตรวจอัลตราซาวน์เต้านม จะช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยได้ว่าก้อนที่ตรวจพบเป็นก้อนเนื้อหรือถุงน้ำ



  • การเจาะดูดของเหลวด้วยเข็ม Fine-needle aspiration เป็นการตรวจที่แพทย์จะทำการเจาะดูดของเหลวออกจากในก้อนถุงน้ำ ถ้าของเหลวที่ดูดออกมาไม่มีเลือดปนก็ไม่ต้องทำการตรวจอย่างอื่นต่อ แต่ถ้ามีเลือดปนอยู่ในนั้นด้วยต้องส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม ถ้าดูดของเหลวไม่ออก หรือก้อนไม่ได้ยุบลงแสดงว่ามีส่วนที่เป็นเนื้อปนอยู่ด้วย จะต้องทำการส่งตรวจเพื่อหาเซลล์มะเร็งต่อไป 

ซีสต์ที่หน้าอกชนิด simple ไม่จำเป็นต้องรับการรักษาใด ๆ อาจจะทำเพียงการติดตามตรวจดูขนาดของถุงน้ำว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ 


การรักษา
การเจาะดูดของเหลวด้วยเข็ม Fine-needle aspiration 


นอก จากจะเป็นขั้นตอนหนึ่งในการวินิจฉัยแล้ว ยังถือเป็นการรักษาถุงน้ำได้ด้วย ถ้าหากว่าหลังดูดของเหลวออกมาแล้วก้อนยุบลงหรือว่าอาการที่เป็นหายไป โดย ขั้นแรกแพทย์จะทำการตรวจดูตำแหน่งของซีสต์และจะแทงเข็มเข้าไปเพื่อดูดของ เหลวออกมา และถ้าให้ได้ความแม่นยำมากขึ้นจะทำโดยมีการอัลตราซาวน์ไปพร้อมกันเพื่อให้ เห็นตำแหน่งที่ถูกต้อง



ใน คนที่มีถุงน้ำที่เต้านม ภายหลังการดูดของเหลวออกไปอาจจะมีการกลับเป็นได้ใหม่หรืออาจจะมีก้อนใหม่ เกิดขึ้นซึ่งถือเป็นเรื่องที่พบได้บ่อย

การใช้ฮอร์โมน 
โดย การใช้ยาคุมกำเนิดเพื่อปรับระดับฮอร์โมนในร่างกายและประจำเดือนอาจจะช่วยลด การเกิดถุงน้ำที่เต้านมได้ การหยุดฮอร์โมนทดแทนในหญิงวัยทองก็จะช่วยได้เช่นกัน

การผ่าตัด
ในบางรายจำเป็นต้องผ่าตัด เช่นอาการค่อนข้างมาก หรือมีการเจาะดูดออกแล้วพบเลือดปน หรือสงสัยความเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง

การป้องกันถุงน้ำที่เต้านม
  • สวมชุดชั้นในที่มี support อาจจะช่วยบรรเทาอาการเจ็บได้
  • หลีก เลี่ยงการดื่มกาแฟ ยังไม่มีการวิจัยใดที่แสดงว่ามีความสัมพันธ์กับการเกิดถุงน้ำ แต่สำหรับอาการต่าง ๆ พบว่าอาการจะบรรเทาลงหากหยุดการดื่มกาแฟ
  • ลดการรับประทานอาหารเค็ม เพราะความเค็มจะทำให้เกิดการคั่งของน้ำในร่างกาย 
ในบางรายระบุว่า Evening primrose จะสามารถลดอาการเจ็บที่เกิดจากถุงน้ำที่เต้านมได้ 
ผู้หญิงควรตรวจคลำเต้านมด้วยตัวเองเป็นประจำ อย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้งหายพบความผิดปกติควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทันที

 ที่มา http://www.samitivejhospitals.com

ป้องกันก้อนในเต้านมอย่างไร? ป้องกันได้ด้วยหรือ?

ป้องกันก้อนในเต้านมอย่างไร?

ปัจจุบัน เมื่อดูจากสาเหตุแล้ว ป้องกันโรคก้อนเนื้อในเต้านมยังไม่ได้ ดังนั้น ควรต้องหมั่นดูแลเต้านมของตนเอง ตั้งใจคลำเต้านมขณะอาบน้ำทั้งสองข้างอย่างน้อยทุกเดือน เมื่อพบ หรือ สงสัยมีก้อนเนื้อผิดปกติ ควรรีบพบแพทย์ภายใน 1-2 สัปดาห์เพื่อวินิจฉัยแยกจากโรคมะเร็งเต้านม โดยเฉพาะเมื่ออายุ ตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป หรือตรวจภาพรังสีเต้านม/แมมโมแกรม และ/หรือ อัลตราซาวด์เต้านมเพื่อตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านม ตั้งแต่ยังไม่มีอาการ โดยเริ่มได้ตั้งแต่อายุ 50 ปีขึ้นไป หรือ เริ่มตั้งแต่อายุ 40 ปีขึ้นไปเมื่อมีญาติสายตรง (พ่อ แม่ พี่ น้อง ท้องเดียวกัน) เป็นโรคมะเร็งเต้านม ต่อจากนั้นความถี่ของการตรวจภาพรังสีเต้านม ขึ้นกับคำแนะนำของแพทย์

ที่มา
 http://haamor.com

ก้อนในเต้านมเกิดจากอะไร? มีอาการอย่างไร? เป็นมะเร็งได้ไหม?

ก้อนในเต้านมเกิดจากอะไร? มีอาการอย่างไร? เป็นมะเร็งได้ไหม?

สาเหตุ และอาการของก้อนในเต้านมขึ้นกับชนิดของก้อนเนื้อ
ที่มา
 http://haamor.com/th/

Monday, January 27, 2014

พาราเบนคืออะไร What is PARABEN?? ผสมเครื่องสำอางค์ประเภทไหน ?? เกี่ยวอะไรกับมะเร็งเต้านม ??

พาราเบน (Paraben)

พาราเบนคืออะไรและทำไมเราจึงควรหลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีพาราเบนผสมอยู่
ปัจจุบันนี้มีการพูดถึงสารพาราเบนมากขึ้น จนบางครั้งเราเห็นการใช้คำว่า ‘ Paraben Free’ บนผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางค์ เลยทีเดียว แต่อย่างไรก็ตาม เราก็ยังไม่ชัดเจนว่าสารพาราเบนคืออะไรและทำไมจึงควรระมัดระวังในการใช้
สารพาราเบนเป็นสารสังเคราะห์ขึ้นทางเคมี เพื่อใช้ในการรักษาสภาพของผลิตภัณฑ์ไม่ให้ขึ้นรา หรือถูกแบคทีเรียเข้าไป  จะทำปฏิกิริยาจนผลิตภัณฑ์เกิดการแปรสภาพ หรือจะเรียกให้เข้าได้ง่ายก็คือสารกันบูดนะแหละ สารพาราเบนอาจถูกพบได้ในธรรมชาติ เช่น เมทิลพาราเบนที่พบในบลูเบอรรี แต่ส่วน มากในอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องสำอางค์หรืออุตสาหกรรมการผลิตยาจะไม่ใช้สารพาราเบนจากธรรมชาติ เนื่องจากสาร พาราเบนสังเคราะห์มีราคาถูกกว่ามากและสามารถควบคุมการออกฤทธิ์ได้แม่นยำตรงตามความต้องการได้มากกว่า
เชื่อไหมว่าเราสัมผัสกับสารพาราเบนตลอดเวลาในชีวิตประจำวันผ่านการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ใช้กับร่างกาย เพราะสารพาราเบนเป็นสารที่ เป็นส่วนประกอบพื้นฐานในการรักษาสภาพของผลิตภัณฑ์ให้อยู่ได้นานและไม่กลายสภาพ ผลิตภัณฑ์ที่ว่าได้แก่ ยาสระผม, เจล โกนหนวด, มอยซ์เจอร์ไรซ์เซอร์สำหรับร่างกายและใบหน้า, ผลิตภัณฑ์ล้างทำความสะอาดใบหน้า, ยาสีฟัน ฯลฯ ในบางครั้ง เรายังพบว่ามีการเติมสารพาราเบนลงในอาหารเพื่อรักษาสภาพอาหารอีกด้วย
หากท่านมีเวลา เราอยากจะชวนท่านอ่านฉลากผลิตภัณฑ์ที่ท่านใช้อยู่ ท่านจะตกใจว่าสารพาราเบนมีอยู่ในผลิตภัณฑ์ตั้งแต่ราคาเพียงไม่กี่บาทจนไปถึงเครื่องสำอางค์ราคาแพงจากต่าง ประเทศเลยทีเดียว และที่น่าตกใจคือมีการใส่สารพาราเบนมากกว่า 2 ชนิดในแต่ละผลิตภัณฑ์ สารพาราเบนที่ปรากฏบนสลากเป็นประจำคือ เมทิลพาราเบน, เอทิลพาราเบน, พรอพิลพาราเบน และบูทิลพาราเบน
สารพาราเบนถูกใช้อย่างแพร่หลายเช่นนี้ เนื่องจากองค์การอาหารและยาของประเทศอเมริกาและประเทศในกลุ่มยุโรป ซึ่งได้รับการยอมรับว่ามีมาตรการในการควบคุมการใช้สารเคมีที่ สูง เพื่อไม่ให้ผู้บริโภคได้รับอันตรายจากสารเคมีที่ผสมอยู่ในผลิตภัณฑ์ต่างๆนั้น ยังอนุญาตให้ใช้สารพาราเบนในปริมาณไม่เกินที่กำหนด เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ต่างๆคงสภาพได้นานเท่าที่ระบบ การตลาดจะสามารถขับเคลื่อนสินค้าไปสู่มือผู้บริโภคได้ แต่อย่างไรก็ตามได้มีนักวิจัยได้ทำการศึกษาถึงผลข้างเคียงของสารพาราเบนที่มีต่อมนุษย์ ซึ่งผลที่ออกมาทำให้ผู้บริโภคอย่างเรา ๆ รู้สึกตระหนกและกังวลใจไม่ใช่น้อยเลยทีเดียว
Dr. S. Oishi นักวิจัยจากสถาบันพิษวิทยา สำนักงานวิจัยเพื่อสาธารณะแห่งมหานครโตเกียว ได้รายงานว่าพบความผิดปก ติของทารกเพศชายที่ได้รับสารบูทิลพาราเบนจากการใช้ผลิตภัณฑ์ของมารดา โดยทารกเกิดความผิดปกติในระบบสืบพันธุ์ และ การหลั่งฮอร์โมนเทสทอสเทอโรน
Dr.Philipa Dabre นักชีวโมเลกุลชาวอังกฤษ ได้รายงานว่า พบสารพาราเบนในเนื้อร้ายจากผู้ที่เป็นมะเร็งเต้านม ซึ่งสาร พาราเบนที่พบน่าจะมาจากผลิตภัณฑ์ที่ผู้ป่วยใช้สัมผัสกับผิวหนังบริเวณรักแร้ หรือครีมทาผิว หรือสเปรย์ฉีดร่างกาย และนอกจาก นั้น Dr. Dabre ยังพบว่ากว่า 60% ของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมจะพบเนื้อร้ายตรงบริเวณหน้าอกส่วนบนด้านหน้าใกล้กับบริเวณรักแร้
นอกจากนั้นยังมีการวิจัยจากมหาวิทยาลัยนอร์ธเวสเทิร์น รัฐอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา พบว่ามะเร็งเต้านมขั้นต้นที่พบ มีส่วน สัมพันธ์กับความถี่ของการใช้ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกายและเครื่องสำอางค์ที่มีสารพาราเบนของผู้ป่วย
สารพาราเบนนั้นเป็นสารสังเคราะห์ที่มีลักษณะคล้ายกับฮอร์โมนเอสโทรเจน ซึ่งฮอร์โมนนี้จะเข้าไปมีส่วนสำคัญในการทำ งานร่วมกับต่อมไร้ท่อในร่างกาย โดยเฉพาะต่อมไฮโปทาลามัสที่ควบคุมการเจริญเติบโตและการทำงานของร่างกาย ต่อมไท รอยด์ที่ควบคุมระบบเมตาบอลิซึม และรังไข่ซึ่งควบคุมระบบสืบพันธุ์ ดังนั้นการได้รับสารพาราเบนเป็นระยะเวลาต่อเนื่องจึงมีผล ต่อการทำงานของอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ร่างกายสามารถรับสารพาราเบนจากการดูดซึมผ่านผิวหนังซึ่งมีรูพรุน โดยการดูดซึมสารพาราเบนผ่านผิวหนังมีอัตราสูง กว่าการรับสารพาราเบนผ่านการรับประทานถึง 10 เท่า ดังนั้นจึงเป็นเรื่องน่าวิตกว่าร่างกายของเรามีสารพาราเบนตกค้างอยู่มาก เท่าใด
ถึงแม้ว่าจะยังไม่มีการชี้ชัดว่าสารพาราเบนปริมาณเท่าใดจึงปลอดภัยต่อมนุษย์ หากเลือกได้เราควรที่จะพิถีพิถันในการ เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ปราศจากสารพาราเบนเสียดีกว่า เพราะในปัจจุบันมีผู้ผลิตจำนวนหนึ่งที่รับผิดชอบต่อผู้บริโภคเห็นว่าเราไม่ ควรที่จะต้องรับสารพาราเบนเข้าไปในร่างกายเพิ่ม เพื่อลดอัตราเสี่ยงในการเกิดมะเร็งหรือเกิดความผิดปรกติในระบบต่างๆของร่าง กาย โดยผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากบริษัทเหล่านี้จะปราศจากสารพาราเบน และพยายามใช้สารกันเสียที่เกิดจากสารธรรมชาติเป็นตัว ป้องกันการแปรสภาพของผลิตภัณฑ์ เช่นการใช้น้ำมันบริสุทธิ์ที่มีความเข้มข้นสูง, การใช้ Grape Seed Extract หรือการใช้เกลือ เข้ามาช่วย อย่างไรก็ตาม ในบางผลิตภัณฑ์ก็จะไม่สามารถใช้สารธรรมชาติเหล่านี้ได้ ดังนั้นผู้บริโภคอย่างเราก็จะต้องยอมรับว่า ผลิตภัณฑ์จากผู้ผลิตที่รับผิดชอบเหล่านี้อาจจะเสียง่ายและต้องรีบใช้ให้หมดก่อนวันหมดอายุที่ระบุไว้ ซึ่งก็ยังดีกว่าการรับสาร พาราเบนซึ่งก่อให้เกิดผลร้ายที่เราไม่รู้อีกมากมาย เอกสารอ้างอิง

www.thegoodhuman.com
www.terressentials.com/truthaboutparabens.html
http://en.wikipedia.org/wiki/Paraben
http://www.sirichiva.com/

Sunday, August 9, 2009

ว่าด้วยเรื่องก้อนที่เต้านม

เต้านมเป็นอวัยวะสำคัญที่บ่งบอกถึงความเป็นสัตว์โลกที่เลี้ยงลูกด้วยนม สำหรับมนุษย์ถือว่า เต้านมเป็นสัญลักษณ์ทางเพศที่สำคัญอย่างหนึ่ง โดยเฉพาะเพศหญิง ตั้งแต่วัยรุ่นจนถึงวัยแก่ ถ้าปราศจากอวัยวะนี้แล้ว คงจะมีปัญหาเกิดขึ้นมากมายอย่างน้อยที่สุดความเป็นผู้หญิงคงจะด้อยลงไป ดังนั้น หามีโรคภัยไข้เจ็บที่เกี่ยวกับเต้านม และทำให้ผุ้หญิงต้องสูญเสียของสงวนสิ่งนี้แล้ว คงจะสร้างความสะเทือนใจเป็นอย่างยิ่ง แม้แต่ผู้ชายเวลานมแตกพาน บางครั้งยังอับอายเพื่อนฝูงจนต้องขอให้แพทย์ช่วยผ่าตัดให้

เต้านมยังทำหน้าที่สำคัญในการสืบทอดความเป็นสิ่งมีชีวิต กล่าวคือตามขั้นตอนของการสืบพันธุ์สำหรับสตรีเลี้ยงลูกด้วยนมนั้น เต้านมต้องทำหน้าที่ผลิตน้ำนมเพื่อเลี้ยงทารก
การเปลี่ยนแปลงของเต้านม


เมื่อเติบโตเข้าระยะวัยรุ่น เต้านมจะเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาภายใต้การควบคุมของฮอร์โมน 2 ชนิด คือ ฮอร์โมนเอสโตรเจนจากรังไข่กระตุ้นให้เกิดการขยายตัวของหัวนม รวมทั้งท่อน้ำนมต่าง ๆ พร้อมกับกระตุ้นให้มีไขมันแทรกระหว่างท่อน้ำนมฮอร์โมนอีกชนิดคือ โปรเจนเตอโรน ซึ่งร่างกายจะผลิตออกมาทุกเดือนตามรอบเดือน คอยกระตุ้นปลายท่อน้ำนมให้ขยายเป็นที่อยู่ของต่อมน้ำนม ทำหน้าที่ผลิตน้ำนม ดังนั้นเวลาประจำเดือนใกล้จะมาผู้หญิงจะรู้สึกว่าเต้านมโตขึ้น และตึงคัด ซึ่งเป็นปฏิกิริยาตามธรรมชาติที่ร่างกายตอบสนองต่อฮอร์โมนโปรเจนเตอโรน ที่หลั่งออกมาในช่งเวลาดังกล่าว ย่อมหมายความว่าวงจรของชีวิตแห่งความเป็นเพศหญิงกำลังดำเนินไปอย่างปกติ

เต้านมที่เติบโตเต็มที่จะมีรูปร่างเกือบจะเป็นครึ่งทรงกลม มีส่วนปลายยื่นเข้าไปบริเวณรักแร้ หัวนมจะเชิดขึ้นเล็กน้อย เป็นที่เปิดของท่อน้ำนม หัวนมจะล้อมรอบด้วยเนื้อเยื่อสีชมพู เรียกฐานหัวนม (AREOLA) เต้าที่นมแต่ละข้างมีเส้นประสาทและเนื้อเยื้อพังผืด ประกอบจนเป็นรูปร่างที่มีความเต่งตึงในยามสัมผัส หัวนมจะมีเส้นประสาทมาหล่อเลี้ยงเพื่อประโยชน์ในการเลี้ยงลูกด้วยนม

เต้านมของผู้หญิงวางอยู่บนแผงหน้าอกด้านหน้า มีขอบเขตตั้งแต่กระดูกซี่โครงที่ 2-6 จากบนลงล่าง และตั้งแต่กระดูกหน้าอกไปจนถึงด้านข้างของทรวงอก เต้านมของผู้ชาย จะไม่เจริญเท่าผู้หญิง นอกจากในช่วงแตกเนื้อหนุ่ม อาจโตขึ้นเล็กน้อยเป็นการชั่วคราวที่เรียกว่า "นมแตกพาน"
การตรวจเต้านมด้วยตนเอง


สำคัญมากสำหรับผู้หญิงที่มีอายุ 20 ปี ขึ้นไป ควรสร้างอุปนิสัยในการตรวจเต้านมของตนเองอย่างสม่ำเสมอและหมั่นคลำหาก้อนที่ผิดปกติในเต้านม

การตรวจเต้านมด้วยตนเองโดยการคลำอย่างเป็นระบบ ใช้มือขวาในการคลำเต้านมข้างซ้าย และสลับกันคือ ใช้มือซ้ายคลำเต้านมด้านขวา คลำเต้านมโดยใช้ฝ่ามือเพียง 2-3 นิ้ว สัมผัสด้วยการหมุนไปรอบ ๆ ตามเข็มนาฬิกากดเบา ๆ เพื่อให้ผิวหนังอยู่กับที่ เริ่มจากขอบนอกบนสุด หมุนเป็นวงกลมช้า ๆ ตามเข็มนาฬิกาจนกลับมาถึงจุดเริ่มต้น ขยับน้ำมือเข้าไปหาหัวนมราว 1 นิ้ว แล้วหมุนรอบซ้ำแบบเดิมอีกจนเข้ามาในสุดถึงหัวนม พยายามใช้ความรู้สึกสัมผัสของเต้านมปกติว่าเป็นอย่างไร เพื่อจะได้จำได้ว่าเวลาเกิดความผิดปกติแล้วมันจะเปลี่ยนแปลงอย่างไร ท่านที่มีรูปร่างผอมบางอาจมีปัญหาว่ากระดูกหน้าอกอาจปรากฎชัดเจน จำคลำดูเหมือนก้อน

โปรดระลึกไว้เสมอว่าแม้ว่าท่านจะตรวจพบก้อนที่เต้านมด้วยตนเองก็ตามแต่แพทย์เท่านั้นที่จะเป็นผู้ยืนยันว่าก้อนที่ท่านคลำได้นั้น เป็นก้อนที่ผิดปกติจริงหรือไม่ และเป็นชนิดไม่ร้ายแรงหรือเป็นมะเร็ง ข้อสำคัญขอเพียงแต่ให้ท่านขยันหมั่นตรวจเต้าจมด้วยตนเองบ่อย ๆ เป็นประจำ
ก้อนที่เต้านม


ก่อนที่เต้านมหรือเนื้องอกที่เต้านม มักเกิดหลังอายุ 30 ปีไปแล้ว เกิดจากการที่เซลล์ที่มีการแบ่งตัวผิดปกติ โดยเนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรงจะมีการแบ่งตัวแล้วไม่ลุกลามออกนอกเปลือกหุ้ม ในขณะที่เซลล์มะเร็งจะมีการกระจายไปทั่ว

เนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรงของเต้านมคิดเป็นประมาณ ร้อยละ 80 ของก้อนที่เต้านมทั้งหมด ที่สำคัญมีดังน้

1. ไฟโบรซิสติค (FIBROCYSTIC DISEASE) ภาวะนี้ของเต้านมจริง ๆ แล้วไม่ใช่โรคอย่างแท้จริง เป็นภาวะที่พังผืด ต่อมและท่อน้ำนมมีปฏิกริยามากเกินไปต่อการกระตุ้นของฮอร์โมนระหว่างการตกไข่ ทำให้ฟังผืดเกาะตัวเป็นกลุ่มเป็นก้อนและ/หรือ มีถุงน้ำเล็ก ๆ จำนวนมากปะปนอยู่ อาการของโรคนี้คือ มีก้อนโตขึ้นและเจ็บเต้านมก่อนจะมีประจำเดือน แล้วค่อย ๆ ดีขึ้นเมื่อประจำเดือนหมด

2. ไฟโปรอดีโนมา (FIBROADENOMA) เป็นเนื้องอกธรรมดาที่มีก้อนแข็งประกอบด้วยพังผืดและเนื้อเยื่อจากต่อมน้ำนม พบบ่อยสุดในวัย 18-35 ปี มักไม่มีอาการเจ็บนอกจากบางครั้งอาจรู้สึกคัด ๆ เต้านมบ้างก่อนมีประจำเดือนเวลาคลำดูจะรู้สึกว่ามันกลิ้งไปมาได้

ก้อนของเต้านมส่วนใหญ่เป็นชนิดไม่ร้ายแรง แต่อย่างไรก็ตามสิ่งเหล่านี้เมื่อเกิดขึ้นแล้วอาจต้องใช้วิธีการรักษา โดยผ่าตัดเอาออกเพื่อไม่ให้รบกวนการทำงานปกติของเต้านม เนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรงนี้จะไม่ลุกลามไปยังเนื้อเยื่อส่วนดีอื่น ๆ ของเต้าจม ไม่เป็นอันตรายต่อชีวิต
มะเร็งเต้านม


เนื้องอกชนิดร้ายแรงของเต้านม เราเรียกว่า "มะเร็งเต้านม"

อาการสำคัญสำหรับมะเร็งเต้านมก็คือ การคลำได้ก้อนภายในเต้านม โดยไม่มีอาการเจ็บปวด เวลาประจำเดือนมาก้อนนี้จะไม่เปลี่ยนขนาด หรือความนุ่มแข็ง อาการอื่น ๆ ที่เกิดได้ก็คือ การมีของเหลวไหลออกมาจากหัวนมหรือผัวหนังเหนือเต้านมขรุขระไปเหมือนผิวส้ม

เราแบ่งมะเร็งเต้านมอย่างง่าย ๆ เป็น 3 ระยะด้วยกัน

1. มะเร็งเต้านมระยะเริ่มต้น

หมายถึง มะเร็งที่มีก้อนเขนาดเล็กไม่เกิน 1 นิ้ว การแพทย์สมัยใหม่สามารถตรวจพบมะเร็งที่มีก้อนขนาดเล็กกว่านี้มาก เช่น ตรวจด้วย MAMMOGRAM ก้อนขนาดนี้จริง ๆ แล้วอาจมีการเจริญเติบโตมานานแล้ว ซึ่งถ้าหากหมั่นตรวจเต้านมด้วยตนเองอยู่เสมอจะสามารถคลำได้ก่อนที่จะโตเท่านี้

โอกาสที่จะอยู่รอดเกิน 5 ปี หลังการรักษา มีสูงถึง 85%

2. มะเร็งเต้านมระยะเป็นมาก

คือมะเร็งที่กระจายจากเต้านมสู่ต่อมน้ำเหลืองบริเวณต่าง ๆ เช่น ที่รักแร้ คอ และทรวงอก

โอกาสที่จะอยู่รอดเกิน 5 ปี หลังการรักษาจะลดลงเหลือเพียง 40% หรือต่ำกว่านี้

3. มะเร็งเต้านมชนิดแพร่กระจาย

คือมะเร็งที่ลุกลามไปถึงต่อมน้ำเหลืองแล้วกระจายไปตามท่อน้ำเหลือง และกระแสโลหิตสู่สวนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น กระดูก ตับ ปอด และสมอง

โอกาสที่จะอยู่รอดเกิน 5 ปี แม้จะให้การรักษาด้วยแทบจะไม่มีเลย
การรักษามะเร็งเต้านม


การรักษาโรคมะเร็งเต้านมอย่างจริงจังได้เริ่มขึ้นเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยการผ่าตัดเต้านม ต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ และกล้ามเนื้อหน้าอกออกจนหมดได้ผลดีแต่หน้าอกด้านที่ถูกผ่าตัดดจะแบนราบเห็นรอยกระดูกซี่โครงชัดเจน ต่อมาความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคมะเร็งเต้านมของสตรีดีขึ้น ผู้ป่วยจะมาพบแพทย์เร็วขึ้น จึงได้มีวิวัฒนาการผ่าตัดเอาเฉพาะเต้านมและต่อมน้ำเหลืองออก แต่เหลือกล้ามเนื้อบริเวณหน้าอกเอาไว้ ผลการผ่าตัดจะไม่เห็นรอยซี่โครงและโอกาสจะมาเสริมแต่งหน้าอกและใส่เต้านมเทียมมากขึ้น

วิวัฒนาการรักษาโรคมะเร็งเต้านม ไม่เพียงแต่ทางศัลยกรรมเท่านั้น ยังมีการใช้เคมีบำบัด และรังสีบำบัดมาร่วมในการรักษาทั้งก่อนและหลังการผ่าตัด ทำให้เปอร์เซ็นต์การอยู่รอดของผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งเต้านมดีขึ้น

ในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา มีการนำเอาวิธีการรักษามะเร็งเต้านมโดยไม่ตัดเอาเต้านมออกหมดมาใช้ร่วมกับการฉายรังสีและเคมีบำบัดใช้เฉพาะมะเร็งเต้านมระยะแรกเริ่มได้ผลและปลอดภัยใกล้เคียงกับการรักษาโดยการตัดออกทั้งหมด

ทั้งหมดที่ได้กล่าวจะเห็นได้ว่า การรักษามะเร็งเต้านมในปัจจุบัน และอนาคตมีการหันเหไปใช้วิธีการเก็บเต้านมไว้มากขึ้น สิ่งเหล่านี้กระทำได้เนื่องจากประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องโรคมะเร็งเต้านมดีขึ้น มีการตื่นตัวที่จะตรวจตัวเองและให้แพทย์ตรวจ เพื่อค้นหามะเร็งเต้านมตั้งแต่ระยะเริ่มแรก นับเป็นโอกาสทองของชีวิตที่จะรักษาตัวเองให้หายจากมะเร็งเต้านม และไม่ต้องสูญเสียเต้านมอีกด้วย

Monday, February 9, 2009

การผ่าตัดก้อนเต้านมไม่ร้ายแรง

การผ่าตัดก้อนเต้านมไม่ร้ายแรง

ในกรณีที่วินิจฉัยว่าเป็นก้อนเนื้อในเต้านมและน่าจะเป็นเนื้องอกไม่ร้ายแรง ศัลยแพทย์มักแนะนำให้ผ่าตัดออกเมื่อก้อนมีขนาดเหมาะสม ไม่เล็กเกินไป เพราะจะทำได้ยากเนื่องจากคลำตำแหน่งก้อนลำบาก ขณะเดียวกันก็จะไม่รอจนก้อนใหญ่มากซึ่งจะทำให้แผลผ่าตัดขนาดใหญ่โดยใช่เหตุ เนื้องอกมักโตช้าๆ และส่วนมากไม่กลายไปเป็นเนื้อร้าย การผ่าตัดมีวัตถุประสงค์เพื่อเอาก้อนออก และจะได้ส่งตรวจทางพยาธิวิทยาให้ชัดเจน