Tuesday, January 28, 2014

ความรู้เรื่องซีสต์ (ก้อนเนื้อที่เต้านม) อาการ และการักษา

30กำลังแจ๋วกับความรู้เรื่องซีสต์ (ก้อนเนื้อที่เต้านม)




ถุง น้ำที่เต้านม หรือที่เรียกว่า ซีสต์ Breast cysts คือถุงที่มีน้ำอยู่ภายในที่อยู่ที่หน้าอก (แปลแบบตรงตัวกันไปเลย) แต่ละคนอาจจะพบซีสต์ได้ บางคนเจอหลายซีสต์ก็พบได้บ่อย ส่วนใหญ่แล้วจะมีรูปร่างกลม และขอบเรียบ ถ้าเป็นซีสต์ที่ใหญ่พอสมควรอาจจะคลำได้ และรู้สึกเหมือนองุ่นนุ่มๆ หรือลูกโป่งที่มีน้ำอยู่ภายใน



ส่วนใหญ่จะพบในผู้หญิงอายุ 30 ขึ้นไป และจะยุบลงได้หลังจากเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน ยกเว้นว่ารับประทานยาฮอร์โมนทดแทน
ซีสต์ที่หน้าอก ไม่จำเป็นต้องรักษายกเว้นว่ามีขนาดใหญ่หรือมีอาการเจ็บ ซึ่งส่วนใหญ่จะให้การรักษาโดยการเจาะดูดน้ำออกมาเท่านั้น

อาการของถุงน้ำที่หน้าอกได้แก่
  • คลำได้ก้อนที่หน้าอก เป็นก้อนที่ค่อนข้างเรียบกลม และกลิ้งไปมาได้
  • มีอาการเจ็บบริเวณที่มีก้อน
  • ก้อนที่คลำได้จะมีขนาดใหญ่ขึ้นและตึงขึ้นในช่วงก่อนมีประจำเดือน และจะเล็กลงหลังหมดประจำเดือน
สิ่งสำคัญที่ต้องรู้เพื่อจะได้ไม่ต้องกังวลคือ การมีซีสต์แบบธรรมดา Simple cyst ไม่ได้เป็นปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงมะเร็งเต้านม 
หากคลำหน้าอกตรวจด้วยตนเองแล้วพบว่ามีก้อนใหม่เกิดขึ้น หรือก้อนที่เคยพบอยู่เดิมมีขนาดใหญ่ขึ้นควรพบแพทย์เพื่อตรวจให้แน่ใจ

สาเหตุ

เต้า นมแต่ละข้างจะมีเนื้อเยื่อของต่อมน้ำนม อยู่ 15-20 กลุ่ม และมีการแตกออกเป็นท่อน้ำนมในแต่ละกลุ่มเพื่อให้ในการสร้างน้ำนม ท่อน้ำนมเหล่านี้ก็จะเป็นที่สะสมของน้ำนมที่สร้างขึ้นมา

ถุง น้ำที่เต้านม เกิดจากต่อมและเนื้อเยื่อรอบ ๆ มีการโตขึ้นผิดปกติ และไปอุดกั้นท่อน้ำนม ทำให้มีการขยายออกของท่าน้ำนมและมีของเหลวเข้าไปสะสมอยู่
  • Microcysts เป็นซีสต์ที่มีขนาดเล็กมากจนไม่สามารถคลำได้ แต่จะพบได้เมื่อทำการตรวจ แมมโมแกรมหรืออัลตราซาวน์
  • Macrocysts เป็นซีสต์ที่มีขนาดใหญ่ที่สามารถคลำได้ ส่วนใหญ่ที่สามารถคลำได้ชัดเจนคือ 2.5 เซนติเมตร ถ้ามีขนาดใหญ่มากจะเบียดเนื้อเยื่อรอบ ๆ ทำให้มีอาการเจ็บได้

สาเหตุของซีสต์ที่เต้านมไม่ชัดเจน แต่อาจจะเกิดจากการมีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายมากเกินไป
การตรวจและวินิจฉัยซีสต์ที่เต้านมมักจะทำหลังจากที่ตัวคุณหรือแพทย์ตรวจร่างกายพบว่ามีก้อนที่เต้านม โดยจะทำการตรวจต่อไปนี้

  • การ ตรวจคลำเต้านมโดยแพทย์ แต่การตรวจนี้จะยังไม่สามารถบอกได้ว่าก้อนที่ตรวจพบเป็นก้อนเนื้อหรือถุงน้ำ กันแน่ จึงควรจะต้องทำการตรวจด้วยวิธีอื่น ๆ เพื่อยืนยัน

  • การตรวจอัลตราซาวน์เต้านม จะช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยได้ว่าก้อนที่ตรวจพบเป็นก้อนเนื้อหรือถุงน้ำ



  • การเจาะดูดของเหลวด้วยเข็ม Fine-needle aspiration เป็นการตรวจที่แพทย์จะทำการเจาะดูดของเหลวออกจากในก้อนถุงน้ำ ถ้าของเหลวที่ดูดออกมาไม่มีเลือดปนก็ไม่ต้องทำการตรวจอย่างอื่นต่อ แต่ถ้ามีเลือดปนอยู่ในนั้นด้วยต้องส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม ถ้าดูดของเหลวไม่ออก หรือก้อนไม่ได้ยุบลงแสดงว่ามีส่วนที่เป็นเนื้อปนอยู่ด้วย จะต้องทำการส่งตรวจเพื่อหาเซลล์มะเร็งต่อไป 

ซีสต์ที่หน้าอกชนิด simple ไม่จำเป็นต้องรับการรักษาใด ๆ อาจจะทำเพียงการติดตามตรวจดูขนาดของถุงน้ำว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ 


การรักษา
การเจาะดูดของเหลวด้วยเข็ม Fine-needle aspiration 


นอก จากจะเป็นขั้นตอนหนึ่งในการวินิจฉัยแล้ว ยังถือเป็นการรักษาถุงน้ำได้ด้วย ถ้าหากว่าหลังดูดของเหลวออกมาแล้วก้อนยุบลงหรือว่าอาการที่เป็นหายไป โดย ขั้นแรกแพทย์จะทำการตรวจดูตำแหน่งของซีสต์และจะแทงเข็มเข้าไปเพื่อดูดของ เหลวออกมา และถ้าให้ได้ความแม่นยำมากขึ้นจะทำโดยมีการอัลตราซาวน์ไปพร้อมกันเพื่อให้ เห็นตำแหน่งที่ถูกต้อง



ใน คนที่มีถุงน้ำที่เต้านม ภายหลังการดูดของเหลวออกไปอาจจะมีการกลับเป็นได้ใหม่หรืออาจจะมีก้อนใหม่ เกิดขึ้นซึ่งถือเป็นเรื่องที่พบได้บ่อย

การใช้ฮอร์โมน 
โดย การใช้ยาคุมกำเนิดเพื่อปรับระดับฮอร์โมนในร่างกายและประจำเดือนอาจจะช่วยลด การเกิดถุงน้ำที่เต้านมได้ การหยุดฮอร์โมนทดแทนในหญิงวัยทองก็จะช่วยได้เช่นกัน

การผ่าตัด
ในบางรายจำเป็นต้องผ่าตัด เช่นอาการค่อนข้างมาก หรือมีการเจาะดูดออกแล้วพบเลือดปน หรือสงสัยความเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง

การป้องกันถุงน้ำที่เต้านม
  • สวมชุดชั้นในที่มี support อาจจะช่วยบรรเทาอาการเจ็บได้
  • หลีก เลี่ยงการดื่มกาแฟ ยังไม่มีการวิจัยใดที่แสดงว่ามีความสัมพันธ์กับการเกิดถุงน้ำ แต่สำหรับอาการต่าง ๆ พบว่าอาการจะบรรเทาลงหากหยุดการดื่มกาแฟ
  • ลดการรับประทานอาหารเค็ม เพราะความเค็มจะทำให้เกิดการคั่งของน้ำในร่างกาย 
ในบางรายระบุว่า Evening primrose จะสามารถลดอาการเจ็บที่เกิดจากถุงน้ำที่เต้านมได้ 
ผู้หญิงควรตรวจคลำเต้านมด้วยตัวเองเป็นประจำ อย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้งหายพบความผิดปกติควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทันที

 ที่มา http://www.samitivejhospitals.com

ป้องกันก้อนในเต้านมอย่างไร? ป้องกันได้ด้วยหรือ?

ป้องกันก้อนในเต้านมอย่างไร?

ปัจจุบัน เมื่อดูจากสาเหตุแล้ว ป้องกันโรคก้อนเนื้อในเต้านมยังไม่ได้ ดังนั้น ควรต้องหมั่นดูแลเต้านมของตนเอง ตั้งใจคลำเต้านมขณะอาบน้ำทั้งสองข้างอย่างน้อยทุกเดือน เมื่อพบ หรือ สงสัยมีก้อนเนื้อผิดปกติ ควรรีบพบแพทย์ภายใน 1-2 สัปดาห์เพื่อวินิจฉัยแยกจากโรคมะเร็งเต้านม โดยเฉพาะเมื่ออายุ ตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป หรือตรวจภาพรังสีเต้านม/แมมโมแกรม และ/หรือ อัลตราซาวด์เต้านมเพื่อตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านม ตั้งแต่ยังไม่มีอาการ โดยเริ่มได้ตั้งแต่อายุ 50 ปีขึ้นไป หรือ เริ่มตั้งแต่อายุ 40 ปีขึ้นไปเมื่อมีญาติสายตรง (พ่อ แม่ พี่ น้อง ท้องเดียวกัน) เป็นโรคมะเร็งเต้านม ต่อจากนั้นความถี่ของการตรวจภาพรังสีเต้านม ขึ้นกับคำแนะนำของแพทย์

ที่มา
 http://haamor.com

ก้อนในเต้านมเกิดจากอะไร? มีอาการอย่างไร? เป็นมะเร็งได้ไหม?

ก้อนในเต้านมเกิดจากอะไร? มีอาการอย่างไร? เป็นมะเร็งได้ไหม?

สาเหตุ และอาการของก้อนในเต้านมขึ้นกับชนิดของก้อนเนื้อ
ที่มา
 http://haamor.com/th/

Monday, January 27, 2014

พาราเบนคืออะไร What is PARABEN?? ผสมเครื่องสำอางค์ประเภทไหน ?? เกี่ยวอะไรกับมะเร็งเต้านม ??

พาราเบน (Paraben)

พาราเบนคืออะไรและทำไมเราจึงควรหลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีพาราเบนผสมอยู่
ปัจจุบันนี้มีการพูดถึงสารพาราเบนมากขึ้น จนบางครั้งเราเห็นการใช้คำว่า ‘ Paraben Free’ บนผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางค์ เลยทีเดียว แต่อย่างไรก็ตาม เราก็ยังไม่ชัดเจนว่าสารพาราเบนคืออะไรและทำไมจึงควรระมัดระวังในการใช้
สารพาราเบนเป็นสารสังเคราะห์ขึ้นทางเคมี เพื่อใช้ในการรักษาสภาพของผลิตภัณฑ์ไม่ให้ขึ้นรา หรือถูกแบคทีเรียเข้าไป  จะทำปฏิกิริยาจนผลิตภัณฑ์เกิดการแปรสภาพ หรือจะเรียกให้เข้าได้ง่ายก็คือสารกันบูดนะแหละ สารพาราเบนอาจถูกพบได้ในธรรมชาติ เช่น เมทิลพาราเบนที่พบในบลูเบอรรี แต่ส่วน มากในอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องสำอางค์หรืออุตสาหกรรมการผลิตยาจะไม่ใช้สารพาราเบนจากธรรมชาติ เนื่องจากสาร พาราเบนสังเคราะห์มีราคาถูกกว่ามากและสามารถควบคุมการออกฤทธิ์ได้แม่นยำตรงตามความต้องการได้มากกว่า
เชื่อไหมว่าเราสัมผัสกับสารพาราเบนตลอดเวลาในชีวิตประจำวันผ่านการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ใช้กับร่างกาย เพราะสารพาราเบนเป็นสารที่ เป็นส่วนประกอบพื้นฐานในการรักษาสภาพของผลิตภัณฑ์ให้อยู่ได้นานและไม่กลายสภาพ ผลิตภัณฑ์ที่ว่าได้แก่ ยาสระผม, เจล โกนหนวด, มอยซ์เจอร์ไรซ์เซอร์สำหรับร่างกายและใบหน้า, ผลิตภัณฑ์ล้างทำความสะอาดใบหน้า, ยาสีฟัน ฯลฯ ในบางครั้ง เรายังพบว่ามีการเติมสารพาราเบนลงในอาหารเพื่อรักษาสภาพอาหารอีกด้วย
หากท่านมีเวลา เราอยากจะชวนท่านอ่านฉลากผลิตภัณฑ์ที่ท่านใช้อยู่ ท่านจะตกใจว่าสารพาราเบนมีอยู่ในผลิตภัณฑ์ตั้งแต่ราคาเพียงไม่กี่บาทจนไปถึงเครื่องสำอางค์ราคาแพงจากต่าง ประเทศเลยทีเดียว และที่น่าตกใจคือมีการใส่สารพาราเบนมากกว่า 2 ชนิดในแต่ละผลิตภัณฑ์ สารพาราเบนที่ปรากฏบนสลากเป็นประจำคือ เมทิลพาราเบน, เอทิลพาราเบน, พรอพิลพาราเบน และบูทิลพาราเบน
สารพาราเบนถูกใช้อย่างแพร่หลายเช่นนี้ เนื่องจากองค์การอาหารและยาของประเทศอเมริกาและประเทศในกลุ่มยุโรป ซึ่งได้รับการยอมรับว่ามีมาตรการในการควบคุมการใช้สารเคมีที่ สูง เพื่อไม่ให้ผู้บริโภคได้รับอันตรายจากสารเคมีที่ผสมอยู่ในผลิตภัณฑ์ต่างๆนั้น ยังอนุญาตให้ใช้สารพาราเบนในปริมาณไม่เกินที่กำหนด เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ต่างๆคงสภาพได้นานเท่าที่ระบบ การตลาดจะสามารถขับเคลื่อนสินค้าไปสู่มือผู้บริโภคได้ แต่อย่างไรก็ตามได้มีนักวิจัยได้ทำการศึกษาถึงผลข้างเคียงของสารพาราเบนที่มีต่อมนุษย์ ซึ่งผลที่ออกมาทำให้ผู้บริโภคอย่างเรา ๆ รู้สึกตระหนกและกังวลใจไม่ใช่น้อยเลยทีเดียว
Dr. S. Oishi นักวิจัยจากสถาบันพิษวิทยา สำนักงานวิจัยเพื่อสาธารณะแห่งมหานครโตเกียว ได้รายงานว่าพบความผิดปก ติของทารกเพศชายที่ได้รับสารบูทิลพาราเบนจากการใช้ผลิตภัณฑ์ของมารดา โดยทารกเกิดความผิดปกติในระบบสืบพันธุ์ และ การหลั่งฮอร์โมนเทสทอสเทอโรน
Dr.Philipa Dabre นักชีวโมเลกุลชาวอังกฤษ ได้รายงานว่า พบสารพาราเบนในเนื้อร้ายจากผู้ที่เป็นมะเร็งเต้านม ซึ่งสาร พาราเบนที่พบน่าจะมาจากผลิตภัณฑ์ที่ผู้ป่วยใช้สัมผัสกับผิวหนังบริเวณรักแร้ หรือครีมทาผิว หรือสเปรย์ฉีดร่างกาย และนอกจาก นั้น Dr. Dabre ยังพบว่ากว่า 60% ของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมจะพบเนื้อร้ายตรงบริเวณหน้าอกส่วนบนด้านหน้าใกล้กับบริเวณรักแร้
นอกจากนั้นยังมีการวิจัยจากมหาวิทยาลัยนอร์ธเวสเทิร์น รัฐอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา พบว่ามะเร็งเต้านมขั้นต้นที่พบ มีส่วน สัมพันธ์กับความถี่ของการใช้ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกายและเครื่องสำอางค์ที่มีสารพาราเบนของผู้ป่วย
สารพาราเบนนั้นเป็นสารสังเคราะห์ที่มีลักษณะคล้ายกับฮอร์โมนเอสโทรเจน ซึ่งฮอร์โมนนี้จะเข้าไปมีส่วนสำคัญในการทำ งานร่วมกับต่อมไร้ท่อในร่างกาย โดยเฉพาะต่อมไฮโปทาลามัสที่ควบคุมการเจริญเติบโตและการทำงานของร่างกาย ต่อมไท รอยด์ที่ควบคุมระบบเมตาบอลิซึม และรังไข่ซึ่งควบคุมระบบสืบพันธุ์ ดังนั้นการได้รับสารพาราเบนเป็นระยะเวลาต่อเนื่องจึงมีผล ต่อการทำงานของอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ร่างกายสามารถรับสารพาราเบนจากการดูดซึมผ่านผิวหนังซึ่งมีรูพรุน โดยการดูดซึมสารพาราเบนผ่านผิวหนังมีอัตราสูง กว่าการรับสารพาราเบนผ่านการรับประทานถึง 10 เท่า ดังนั้นจึงเป็นเรื่องน่าวิตกว่าร่างกายของเรามีสารพาราเบนตกค้างอยู่มาก เท่าใด
ถึงแม้ว่าจะยังไม่มีการชี้ชัดว่าสารพาราเบนปริมาณเท่าใดจึงปลอดภัยต่อมนุษย์ หากเลือกได้เราควรที่จะพิถีพิถันในการ เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ปราศจากสารพาราเบนเสียดีกว่า เพราะในปัจจุบันมีผู้ผลิตจำนวนหนึ่งที่รับผิดชอบต่อผู้บริโภคเห็นว่าเราไม่ ควรที่จะต้องรับสารพาราเบนเข้าไปในร่างกายเพิ่ม เพื่อลดอัตราเสี่ยงในการเกิดมะเร็งหรือเกิดความผิดปรกติในระบบต่างๆของร่าง กาย โดยผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากบริษัทเหล่านี้จะปราศจากสารพาราเบน และพยายามใช้สารกันเสียที่เกิดจากสารธรรมชาติเป็นตัว ป้องกันการแปรสภาพของผลิตภัณฑ์ เช่นการใช้น้ำมันบริสุทธิ์ที่มีความเข้มข้นสูง, การใช้ Grape Seed Extract หรือการใช้เกลือ เข้ามาช่วย อย่างไรก็ตาม ในบางผลิตภัณฑ์ก็จะไม่สามารถใช้สารธรรมชาติเหล่านี้ได้ ดังนั้นผู้บริโภคอย่างเราก็จะต้องยอมรับว่า ผลิตภัณฑ์จากผู้ผลิตที่รับผิดชอบเหล่านี้อาจจะเสียง่ายและต้องรีบใช้ให้หมดก่อนวันหมดอายุที่ระบุไว้ ซึ่งก็ยังดีกว่าการรับสาร พาราเบนซึ่งก่อให้เกิดผลร้ายที่เราไม่รู้อีกมากมาย เอกสารอ้างอิง

www.thegoodhuman.com
www.terressentials.com/truthaboutparabens.html
http://en.wikipedia.org/wiki/Paraben
http://www.sirichiva.com/